รู้จัก ‘Financial Wellness Canvas’ โมเดลสร้างสุขภาพการเงินที่ดีให้กับพนักงานในองค์กร พร้อมลิงก์ดาวน์โหลด

สุขภาพการเงินของพนักงาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน จากผลสำรวจของ Gallup ระบุไว้ว่า การส่งเสริมความรู้ทางการเงินให้แก่พนักงานเป็นหนึ่งในสวัสดิการที่ช่วยเพิ่ม Engagement ระหว่างพนักงานและองค์กรได้เป็นอย่างดี

หลาย ๆ องค์กรชั้นนำในต่างประเทศ และในประเทศ ไม่ว่าจะเป็น Google, AIS, กฟผ., AEON, เงินติดล้อ ฯลฯ เห็นความสำคัญของสุขภาพการเงินพนักงาน และเริ่มต้นดูแลอย่างจริงจังแล้ว ดังนั้นถึงเวลาแล้วครับ ที่องค์กรของคุณจะเริ่มดูแลสุขภาพการเงินของพนักงานบ้าง!

Financial Wellness Canvas เป็นเครื่องมือช่วย HR และผู้ที่ต้องดูแลพนักงาน ออกแบบโมเดลสำหรับการสร้างสุขภาพการเงินที่ดีให้พนักงานในองค์กร และเพิ่มคุณภาพในการทำงานโดยรวมของทั้งองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดย Canvas นี้แบ่งออกได้เป็น 3 แกนใหญ่ ๆ ประกอบด้วย 9 หัวข้อด้วยกัน ได้แก่

แกนที่ 1 ภาพใหญ่องค์กร

1. (Problems) ปัญหาการเงินของพนักงานที่องค์กรเจอ

ระบุถึงปัญหาด้านการเงินที่พนักงานในองค์กรพบเจอ ถ้าระบุถึงสาเหตุ และ ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อพนักงาน และต่อองค์กรได้ จะทำให้เห็นภาพปัญหาที่ต้องแก้ไขชัดเจนขึ้น

2. (Goals) เป้าหมายองค์กร

วางเป้าหมาย เล่าภาพปลายทาง ว่าอยากเห็นอะไร ให้เกิดขึ้นในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายขององค์กร และเป้าหมายต่อพนักงาน

3. (Target Employee) กลุ่มพนักงานเป้าหมาย

HR สามารถแบ่งพนักงานออกได้หลายกลุ่ม เนื่องจากแต่ละกลุ่มจะมีปัญหา และความต้องการที่ต่างกัน การแยกกลุ่มจะทำให้ HR เห็นภาพชัดเจนในการกรอกข้อมูลในช่องอื่น ๆ ได้ชัดเจนขึ้นว่าจะช่วยเหลือ จัดโปรแกรม สื่อสาร กับพนักงานแต่ละกลุ่มอย่างไร

แกนที่ 2 วิธีสร้างสุขภาพการเงินที่ดีในองค์กร

4. (Create) สร้างโปรแกรม

ออกแบบโปรแกรมที่ช่วยพนักงานเพิ่มความรู้ ทักษะการบริหารเงิน รวมถึงการช่วยเหลือ ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำงานจนถึงวันเกษียณ

5. (Encourage) ส่งเสริม

กำหนดห้วข้อความรู้การเงิน กิจกรรมที่พนักงานในองค์กรจะได้รับในแต่ละช่วงอายุ เพื่อส่งเสริมสุขภาพการเงินที่ดีให้พนักงานทุกช่วงวัย

6. (Welfare) สวัสดิการ

ทบทวนสวัสดิการการเงินที่ช่วยส่งเสริมพนักงาน ทั้งสวัสดิการที่มีอยู่แล้ว และสวัสดิการที่ยังไม่มี เพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว เช่น ออมเงิน ลงทุน รายได้เสริม ลดภาระหนี้ รายจ่าย

7. (Communicate) สื่อสาร

ออกแบบการสื่อสารหลัก (Key Message), ช่องทาง, วิธี ที่ใช้ในการสื่อสารกับพนักงานในแต่ละกลุ่ม เนื่องจากพนักงานแต่ละกลุ่มต้องใช้วิธีการสื่อสารที่แตกต่างกัน เพื่อให้ HR สามารถ

แกนที่ 3 ตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในองค์กร ทั้งกลุ่มนายจ้าง และพนักงาน

8. (Benefits) ประโยชน์ที่ได้รับ

สิ่งที่องค์กร (นายจ้าง) และพนักงาน (ลูกจ้าง) จะได้รับจากการจัดการเรื่องการเงินในองค์กร เพื่อให้ทุกกลุ่มเห็นภาพปลายทาง และความสำคัญของงการส่งเสริมสุขภาพการเงิน

9. (Indexes) ระบุตัวชี้วัดของผลงาน

เลือกตัวชี้วัดที่ต้องการวัดผลจากการดำเนินงานในครั้งนี้ ซึ่งมีหลายตัวชี้วัดที่องค์กรสามารถเลือกไปใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็น Employer Branding, Turnover rate, Hit rate, Employer costs, Personal finance indexes, Financial stress

ซึ่งการเลือกตัวชี้วัดนี้ ควรเลือกให้สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร เพื่อทั้งองค์กรจะได้เห็นภาพปลายทางร่วมกัน ฝั่งองค์กรจะได้เดินหน้าดูแลสุขภาพการเงินของพนักงาน ส่วนพนักงานเมื่อเข้าใจเป้าหมายก็จะเข้าร่วมโครงการอย่างตั้งใจ และได้รับการแก้ปัญหาอย่างตรงจุด

Canvas นี้ MoneyStudio.co จัดทำขึ้น เพื่อให้ทุกองค์กรสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมสุขภาพการเงินที่ดีให้แก่พนักงานได้ ตัวอย่างการทำ Canvas

ดาวน์โหลดไฟล์ MoneyStudio.co : Financial Wellness Canvas